วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค

คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ กฎหมายทั่วไป กฎหมายทั่วไปเป็นกฎหมายที่ใช้ในการเป็นคำสั่งหรือกฎเกี่ยวกับบุคคลที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายทุกคนหรือเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับโดยทั่วไปซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนนั้นจะมีบทลงโทษ เช่น สูบบุหรี่ในสถานที่ต้องห้ามนั้นมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเหล่านี้เป็นต้น
กฎมายการศึกษาเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของการศึกษาเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อคับเกี่ยวกับการศึกษาที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและมีบทลงโทษเมื่อกระทำผิดในข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา เช่น มาโรงเรียนสายเป็นประจำ เว้นแต่มีเหตุผลตามสมควร แต่งกายไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนให้ลงโทษตามที่กำหนดไว้  แต่งกายไม่สุภาพทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน  อันส่อให้เห็นว่าเป็นการไม่ถูก  พูดจาหยาบคาย  หนีโรงเรียน  หนีห้องเรียนถือเป็นการลงโทษสถานเบา หรือการตัดคะแนนในกรณีเล่นการพนัน ทะเลาะวิวาท หรือสถานหนักเช่นมั่วสุมยาเสพติดเหล่านี้เป็นต้น หรือความผิดของครูลงโทษนักเรียนเกินความพอดีก็มีกฎหมายลงโทษเช่นกัน รวมถึงหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้าสถานศึกษาต่างๆเป็นต้น
............................................................................................................................ 
2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษานับเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิและเสรีภาพเกี่ยวกับการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษานั้นๆซึ่งไม่น้อยกว่าสิบสองปีและไม่ใช่เพียงการจัดให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องจัดให้เด็กมีคุณธรรมควบคู่ไปกับการเรียนการสอนด้วยและในส่วนของประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือบุคคลย่อมมีสิทธิในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการศึกษาผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
............................................................................................................................

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีทั้งหมด 78 มาตรา ซึ่งมีความสำคัญว่าพระราชบัญญัตินี้มีความสำคัญเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและให้พ่อ แม่หรือผู้ปกครองมีส่วนในการจัดการศึกษาภาคบังคับเก้าปีเพื่อให้เด็กเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในมาตรา 6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
                        เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์เเละวิธีการท่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
............................................................................................................................
4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภาและต้องปฏิบัติให้เสมือนว่าตนนั้นมีใบประกอบวิชาชีพคือคุรุสภาสามารถลงโทษได้ตามระเบียบของข้อบังคับตามคุรุสภากำหนด
............................................................................................................................
 5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือผู้มีสิทธิ์คุ้มครองเด็กเพื่อให้มีอำนาจในการเข้าตรวจค้นและมีบทลงโทษโดยมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
............................................................................................................................
6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้นั้นประเด็นแรกคงจะเป็นการลงโทษเด็กว่าการลงโทษนักเรียนนั้นสามารถกระทำได้แต่ต้องไม่เกิดจากการแค้นส่วนตัวเช่นตีเด็ก ใช้เตารีดร้อนๆมาโดนตัวเด็ก ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุเหล่านี้เราควรศึกษากฎหมายว่าลงโทษได้ประมานไหนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดแก่ตัวเราเองเพราะมีกฎหมายรองรับอยู่ว่าหากเราทำการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุนั้นจะต้องถูกดำเนินคดี
ประเด็นที่สอง การขาด ลา ต่างๆในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นนับคือหากเราจะลาไม่สามารถมาดำเนินการตามปกติได้นั้นเราต้องทำอย่างไร และเราเองนั้นลาเพื่อทำอะไรเช่นลากิจ ลาป่วย ลาครึ่งวัน ลาได้ครั้งละกี่วัน การมาทำงานสายเหล่านี้เป็นต้น
............................................................................................................................
 7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ การใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการจัดการเรียนการสอนในวิชานี้นั้นนับเป็นเรื่องดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะส่วนใหญ่ในเอกสารประกอบการเรียนการสอนไปก็ไม่ได้อ่านแต่การเรียนโดยการใช้ เว็บล็อก (weblog) นั้นเราสามารถอ่านและทำแบบฝึกหัดต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องมาเรียนในห้องเรียนเราสามารถที่จะอ่านและเรียนรู้ได้จากเว็บล็อก (weblog) ของแต่ละคนได้เลย แต่อาจจะจำกัดตรงที่ในบางครั้งบางกรณีที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตนั้นก็ยากต่อการจัดการเรียนการสอนเช่นกัน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น