วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค

คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7  ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน

1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร อธิบายพร้อมทั้ง ยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ
ตอบ กฎหมายทั่วไป กฎหมายทั่วไปเป็นกฎหมายที่ใช้ในการเป็นคำสั่งหรือกฎเกี่ยวกับบุคคลที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายทุกคนหรือเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับโดยทั่วไปซึ่งหากผู้ใดฝ่าฝืนนั้นจะมีบทลงโทษ เช่น สูบบุหรี่ในสถานที่ต้องห้ามนั้นมีโทษปรับไม่เกินสองพันบาท หรือ ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเหล่านี้เป็นต้น
กฎมายการศึกษาเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของการศึกษาเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อคับเกี่ยวกับการศึกษาที่ตราขึ้นเพื่อใช้ในสถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและมีบทลงโทษเมื่อกระทำผิดในข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา เช่น มาโรงเรียนสายเป็นประจำ เว้นแต่มีเหตุผลตามสมควร แต่งกายไม่ถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนให้ลงโทษตามที่กำหนดไว้  แต่งกายไม่สุภาพทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน  อันส่อให้เห็นว่าเป็นการไม่ถูก  พูดจาหยาบคาย  หนีโรงเรียน  หนีห้องเรียนถือเป็นการลงโทษสถานเบา หรือการตัดคะแนนในกรณีเล่นการพนัน ทะเลาะวิวาท หรือสถานหนักเช่นมั่วสุมยาเสพติดเหล่านี้เป็นต้น หรือความผิดของครูลงโทษนักเรียนเกินความพอดีก็มีกฎหมายลงโทษเช่นกัน รวมถึงหัวหน้าฝ่ายหรือหัวหน้าสถานศึกษาต่างๆเป็นต้น
............................................................................................................................ 
2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไร ในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ยกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษานับเป็นกฎหมายที่ให้สิทธิและเสรีภาพเกี่ยวกับการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษานั้นๆซึ่งไม่น้อยกว่าสิบสองปีและไม่ใช่เพียงการจัดให้เด็กเกิดการเรียนรู้เพียงอย่างเดียวแต่ต้องจัดให้เด็กมีคุณธรรมควบคู่ไปกับการเรียนการสอนด้วยและในส่วนของประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษานั้นคือบุคคลย่อมมีสิทธิในการเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการศึกษาผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
............................................................................................................................

3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ 
ตอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีทั้งหมด 78 มาตรา ซึ่งมีความสำคัญว่าพระราชบัญญัตินี้มีความสำคัญเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและให้พ่อ แม่หรือผู้ปกครองมีส่วนในการจัดการศึกษาภาคบังคับเก้าปีเพื่อให้เด็กเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งในมาตรา 6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
                        เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์เเละวิธีการท่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
............................................................................................................................
4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภาและต้องปฏิบัติให้เสมือนว่าตนนั้นมีใบประกอบวิชาชีพคือคุรุสภาสามารถลงโทษได้ตามระเบียบของข้อบังคับตามคุรุสภากำหนด
............................................................................................................................
 5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือผู้มีสิทธิ์คุ้มครองเด็กเพื่อให้มีอำนาจในการเข้าตรวจค้นและมีบทลงโทษโดยมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
............................................................................................................................
6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย   ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้นั้นประเด็นแรกคงจะเป็นการลงโทษเด็กว่าการลงโทษนักเรียนนั้นสามารถกระทำได้แต่ต้องไม่เกิดจากการแค้นส่วนตัวเช่นตีเด็ก ใช้เตารีดร้อนๆมาโดนตัวเด็ก ลงโทษเด็กเกินกว่าเหตุเหล่านี้เราควรศึกษากฎหมายว่าลงโทษได้ประมานไหนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดแก่ตัวเราเองเพราะมีกฎหมายรองรับอยู่ว่าหากเราทำการลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุนั้นจะต้องถูกดำเนินคดี
ประเด็นที่สอง การขาด ลา ต่างๆในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นนับคือหากเราจะลาไม่สามารถมาดำเนินการตามปกติได้นั้นเราต้องทำอย่างไร และเราเองนั้นลาเพื่อทำอะไรเช่นลากิจ ลาป่วย ลาครึ่งวัน ลาได้ครั้งละกี่วัน การมาทำงานสายเหล่านี้เป็นต้น
............................................................................................................................
 7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้   พอสังเขป
ตอบ การใช้ เว็บล็อก (weblog) ในการจัดการเรียนการสอนในวิชานี้นั้นนับเป็นเรื่องดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะส่วนใหญ่ในเอกสารประกอบการเรียนการสอนไปก็ไม่ได้อ่านแต่การเรียนโดยการใช้ เว็บล็อก (weblog) นั้นเราสามารถอ่านและทำแบบฝึกหัดต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาไม่มีความจำเป็นว่าจะต้องมาเรียนในห้องเรียนเราสามารถที่จะอ่านและเรียนรู้ได้จากเว็บล็อก (weblog) ของแต่ละคนได้เลย แต่อาจจะจำกัดตรงที่ในบางครั้งบางกรณีที่ไม่มีอินเตอร์เน็ตนั้นก็ยากต่อการจัดการเรียนการสอนเช่นกัน




วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 11

ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร  ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น  เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ 

1.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณเเละอนุโมทนา พ.ศ. 2547
    ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ่าด้วยการขอบคุณเเละอนุโมทนานั้นประกาศใช้เมื่อวันถัดจากวันที่ประกาศเเละหากมีผู้บริจาคเงินต่างๆต้องมีการออกประกาศเกีรติบัตรให้ รัฐมนตรีนั้นต้องบริจาคเงินสิบล้านขึ้นไป หัวหน้าสังกัดต่างๆมีเงินบริจาคตั้งเเต่ห้าล้านบาทขึ้นไป ส่วนในกรณีที่บิจาครายเดียวหรือหลายรายนั้นหากออกประกาศเกีรติบัตรให้เเล้วนั้นสามารถขอพระบรมฉายาลักษณ์ได้ด้วย
...................................................................................................................................................

2..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และะการให้ข่าวสาร  พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และะการให้ข่าวสาร  พ.ศ.2548 นั้นจะใช้หลังจากวันประกาศ 
การประชาสัมพันธ์เเละการให้ข่าวนั้นให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวราชการเเต่หากเป็นการประชาสัมพันธ์ข่าวที่เป็นราชการปกตินั้นให้หัวหน้าหน่วยราชการหรือหัวหน้าหน่อยงานในกำกับเป็นผู้ประชาสัมพันธ์หรือให้ข่าวเเต่ผู้ดำรงตำเเหน่งสามารถมอบอำนาจให้เเก่ผู้ดำเนินตำแหน่งอื่นได้เเต่ต้องคำนึงถึงตำแหน่งงานด้วย
...................................................................................................................................................

3.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ การจัดตั้ง การจัดตั้งสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  เลิกหมายถึงการยกเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาพิเศษเป็นสถานศึกษาให้เด็กเฉพาะด้าน ให้เลขานุการเป็นผู้วินิจฉัย ชี้เเจงรวมทั้งออกคำสั่ง สถานศึกษาจะจัดตั้งนั้นต้องมีจำนวนนักเรียนดังต่อไปนี้ ประถมศึกษาไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน เเต่ละระดับชั้นไม่เกินยี่สิบคนเเต่มากกว่าสิบคน ส่วนมัธยมนั้นไม่เกินแปดสิบเเต่ละระดับชั้นนั้นไม่เกินเเปดสิบเเต่มากกว่ายี่สิบ  การรวมสถานศึกษาให้คณะกกรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งเเต่สองเเห่งขึ้นไปเพื่อเกิดผลดีด้านสิทธิเเละคุณภาพการศึกษาโดยจัดตั้งเป็นชั้นหรือช่วงชั้น
..............................................................................................................................................4..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ  พ.ศ.2548.
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ  พ.ศ.2548.ประกาศใช้เมื่อันที่ 30 กันยายน พ.ศ. โดยนายจาตุรงค์ ฉายเเสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนการยกเลิกนั้นระเบียบนี้จะใช้บังคับผู้เข้าสอบทุกประเภทของส่วนราชการเเละรวมถึงการเข้าสถานศึกษาด้วยเเละปฏิบัติตามระเบียบของผู้เข้าสอบอย่างเคร่งครัด เเต่รัฐมนตรีนั้นสามารถให้รักษษการแทนได้โดยเเต่งตั้งปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการเเทน
.............................................................................................................................................
5.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 18 กันยายน 2548ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) การลงโทษนักเรียนไม่ลงโทษด้วยความเเค้นหรือรุนเเรงเกินไป การ่ากล่าวตักเตือนนั้นสามารถทำได้กรณีที่ไม่ผิดร้ายเเรง การทำทัณฑ์บนบั้นสามารถกระทะได้เเต่ต้องเชิญบิดามารดามารับรองการทำทัณฑ์บนด้วย การตัดคะเเนนความประพฤติ การทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการเเทนได้
.....................................................................................................
6..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของ  สถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของ  สถานศึกษา พ.ศ.2547 นั้นลงนามโดยนายอดิสัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) ให้สถานศึกษาทำงานตั้งเเต่เวลา แปดนาฬกาสามสิบนาทีถึงเวลาสิบหกนาฬิกาสามสิบนาที พักเที่ยงเวลาสิบสองนาฬิกาถึงสิบสามนาฬิกาเป็นเวลาการทำงานปกติเว้นเสาร์อาทิตย์เป็นันหยุดราชการ สถานศึกษาใดมีการทำงานนอกเหนือจากเวลากำหนดให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดต้องมีเวลาไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง วันหยุดสามารถพักผ่อนได้เเต่ถ้ามีงานต้องมาปฏิบัติตามปกติเพราะถือเป็นวันหยุดของนักเรียน
...................................................................................................
7..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา  พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) 
สถานศึกษาที่มีความประสงค์จะขอเปลี่ยนหรือกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ที่กำหนดไว้ มีสาระสำคัญดังนี้
   1. การกำหนดชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ใช้คำว่าโรงเรียน เป็นคำขึ้นต้นและต่อท้ายด้วยชื่อจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์ หรือสถานที่อื่นใด แล้วแต่กรณี
  2. การกำหนดชื่อสถานศึกษา ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย หรือระเบียบของทางราชการ
  3. ไม่เป็นชื่อพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เว้นแต่ได้รับพระราชทาน หรือสมเด็จพระสังฆราชประทานให้ และไม่เป็นชื่อพ้อง หรือ มุ่งหมายให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของราชทินนามหรือทายาท
 4. ชื่อสถานศึกษาต้องใช้ภาษาไทย
 5. ชื่อสถานศึกษาที่กำหนด ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสถานศึกษาอื่น
 6. ชื่อสถานศึกษาไม่ควรมีความยาวเกินความจำเป็น
 7. หากสถานศึกษาใด มีความประสงค์ที่จะกำหนดชื่อสถานศึกษาโดยใช้ชื่อผู้บริจาคเป็นชื่อสถานศึกษาหรือกรณีอื่น ๆ ต่อท้ายนอกเหนือที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1 ต้องเสนอขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
...........................................................................................................
8.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของ สถานศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้ ประกาศใช้ วันที่ 28 กันยายน 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
1. การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคาร ควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
  2. การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
  3. การที่มีผู้จัดซื้อให้ หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค ถ้าผู้บริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์ร้อยละห้าสิบของราคาอุปกรณ์ขึ้นไป ประสงค์จะจารึกชื่อและผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์เห็นชอบด้วย ให้จารึกชื่อผู้บริจาคนั้นไว้ที่อุปกรณ์
  4. เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลผู้มีคุณความดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่น แม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควร และประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคาร ให้อยู่ในดุลพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่ต้นสังกัดมอบ
หมาย
.............................................................................................................................................
9.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียน และนักศึกษา พ.ศ.2547 ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
           ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตกให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไขตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
           ในกรณีที่ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
                           (ก) สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด
                           (ข) ถ้าหากเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่น ๆ ที่หน่วยราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน
                           (ค) ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้นวัน เดือน ปีเกิด ไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นราย ๆ ไป
.........................................................................................................
10.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการ  ปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่  การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546 ประกาศใช้ วันที่ 7 กรกฎาคม 2546ผู้ลงนามในระเบียบ ปองพล อดิเรกสาร (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
                ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
................................................................................................................................................
11.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอก  สถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอก สถานศึกษา พ.ศ.2548 ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)
        ให้ทำหนังสือขออนุญาตเสนอผู้มีอำนาจอนุญาต ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา ครู นักเรียน (2 คนขึ้นไป) กิจกรรมการเรียนการสอน ในหรือนอกเวลาสอน(ไม่นับเดินทางไกล+อยู่ค่ายพักแรมฯ)การไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการการพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน ผู้บริหารสถานศึกษาการพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน ผอ.สพท./ผู้รับมอบหมาย/ผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษา 1 ชั้น การพาไปนอกราชอาณาจักร หัวหน้าส่วนราชการ/ผู้ได้รับมอบหมายการควบคุม ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รับมอบหมาย ครู 1 : นักเรียนไม่เกิน 30 คน ถ้ามีนักเรียนหญิงต้องมีครูหญิง ส่งคำขออนุญาตพร้อมโครงการต่อผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน อนุญาต ไปมาแล้วให้รายงานต่อผู้อนุญาตทราบถือว่าไปราชการ เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
................................................................................................................................................
12.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและ อบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและ อบรมภายในประเทศ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 ประกาศใช้ วันที่ 30 กันยายน 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ) 
         ข้าราชการครูต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือนเต็ม ทั้งนี้นับถึงวันที่15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา กรณีมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 24 เดือนเต็ม แต่ ไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็ม ไปศึกษาต่อในสาขาวิชาที่เป็นประโยชน์และจาเป็นอย่างยิ่ง จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้มีอานาจอนุญาตเป็นรายๆ ไป มีอายุไม่เกิน 45 ปี บริบูรณ์ นับถึงวันที่15มิถุนายน ของปีที่จะเข้าศึกษา
.............................................................................................................................................
13.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ใน สถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ใน สถานศึกษา พ.ศ.2548.ประการใช้ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)   ส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ขึ้นในสถานศึกษาโดยให้มีครูอาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถานศึกษาเป็นสมาชิก ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา ให้มุ่งถึงประโยชน์ทางการศึกษาเป็นประการสำคัญ เงินที่ใช้ในการจัดกิจกรรมสหกรณ์ดังกล่าวนี้เรียกว่า“เงินกิจกรรมสหกรณ์” ไม่ใช่เงินบำรุงการศึกษา และอยู่นอกการควบคุมของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา พ.ศ. 2520 ให้จัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์แต่ละประเภท โดยอยู่ในความควบคุมของสถานศึกษา
...............................................................................................................................................
14.หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
ตอบ  หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทาง ราชการ พ.ศ.2550 .ประการใช้ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550ผู้ลงนามในระเบียบ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)ให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักของส่วนราชการสามารถใช้ดุลพินิจจัดให้ข้าราชการที่บรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก และเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเข้าพักในที่พักของทางราชการได้ โดยจะต้องไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น เเต่หากข้าราชการคนใดอาศัยโดยไม่มีสิทธิ์นั้นให้ข้าราชการนั้นอยู่ต่อจนกว่าจะย้ายหรือพ้้นจากตำเเหน่งนั้น
................................................................................................................................................
15. .ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ประการใช้ วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ วิจิตร ศรีสอ้าน (รัฐมนตรีว่าการกระทวงศึกษาธิการ)การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่   ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
 สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับดี ต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ให้มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ และอยู่ในสภาพใช้การได้ดี มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา มีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่น้อยกว่า40 คนเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน มีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า5ห้องเรียน ต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ 
..................................................................................................................................................
16..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้า หน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา  พ.ศ. 2548
ตอบ  การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้า หน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความปรพะพฤตินั้นสามารถทำได้โดยการสอบถามครู อาจารย์ นักเรียน นิสิตนักศึกษา หรือเรืยกพ่อเเม่มาสอบถามได้ สอดส่องเเละรายงานถึงคณะกรรมการคุ้มครองเด็กเเห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลเเละเมื่อพบความว่านักเรียน นักศึกษาประพฤติผิดระเบียบให้เเสดงบัตรเจ้าหน้าที่ต่อสถานศึกษา บันทึกข้อเท็จจริง ซักถามข้อเท็จจริงเเละส่งมอบเเก่ผู้บริหารสถานศึกษา
....................................................................................................................................
17..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน  พ.ศ.2551
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง เครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ นายศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษากำหนดให้รายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียนทั้งชายเเละหญิงหากสถานศึกษาประสงค์จะขอเครื่องเเบบนั้นจากที่กำหนดนั้นให้ขอต่อผู้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับเกี่ยวกับสถานศึกษาซึ่งเเล้วเเต่กรณี เเต่หากนักเรียนคนใดเเต่งกายผิดระเบียบให้ทำโทษตามกฏของโรงเรียน
...................................................................................................................................
18.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษา
เข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการศึกษาภาคบังคับ เข้าเรียนในสถานศึกษา กรณีเด็กย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียน ในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษา เรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษานั้นคือ
1.สูติบัตร
2.กรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม 1 ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน
3.สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน
............................................................................................................................................
19.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 เปิดเรียน 16 พฤษภาคม ปิด 11 ตุลาคม ในปีเดียวกัน ภาคเรียนที่ 2 เปิด 1 พฤศจิกายน ปิด 1 เมษายน ในปีถัดไป ว่าด้วยการปิดเรียนกรณีพิเศษ คือ ปิดเพราะใช้สถานที่จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดอบรมสัมมนา เข้าค่าย พักแรม หรือกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน หรือกรณีอื่น ๆ ที่ไม่สามารถเปิดเรียนตามปกติได้ ผู้อำนวยการโรงเรียน สั่งปิดได้ไม่เกิน 7 วัน โดยต้องมีคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สั่งด้วยวาจาก่อนในกรณีจำเป็นได้ แต่ต้องจัดทำคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อยภายใน 3 วัน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ฯสั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ว่าด้วยการปิดเรียนเหตุพิเศษ คือเหตุจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่าง ๆ ผอ.ร.ร.สั่งปิดได้ไม่เกิน 15 วัน ผอ.สำนักงานเขตฯ สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน หากปิดครบแล้วเหตุการณ์ยังไม่สงบจะสั่งปิดต่อไปอีกได้โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ระหว่างปิดนั้น ผอ.ร.ร.จะสั่งให้ครูมาปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
.................................................................................................................................................
20.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติ งานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจ่ายเงินตอบแทน การปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ.2536 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2550 ผู้ลงนามในระเบียบ นายปรีดิยาธร เทวกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เวลาระหว่าง 08.30 ถึง 16.30 น. ของวันทำการ และให้หมายความรวมถึงช่วงเวลาอื่นที่ส่วนราชการกำหนดให้ข้าราชการในสังกัดปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือกะ หรือเป็นอย่างอื่นด้วยนี่ถือเป็นเวลาทางราชการ
............................................................................................................................................................
21..ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
ตอบ      ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28กันยายน พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามปกติการลงทะเบียนนั้นต้องลงด้วยปากกาหมึกซึมสีดำ ห้ามการขูดลบเพิ่มเติม ถ้าเขียนผิดพลาดหรือตก จำเป็นต้องแก้ไข ก็ให้ขีดฆ่าด้วยปากกาหมึกซึมสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนใหม่ด้วยปากกาหมึกซึมสีแดง การแก้ไขให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไข แล้วลงนาม วัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง กับให้ลงบันทึกแสดงเหตุผลที่แก้ไว้ในสมุดหมายเหตุรายวันด้วยการลงทะเบียนนักเรียนลงแล้วให้เป็นแล้วไป จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ไม่ได้นอกจากได้รับอนุญาตจากหัวหน้าหน่วยงานเจ้าสังกัดที่สูงกว่าสถานศึกษาชั้นหนึ่ง
..................................................................................................................................................................
22.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ผู้ลงนามในระเบียบ นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการที่จะลาไปศึกษาต่อนั้นต้องมีคุณสมบัติเเละความรู้พื้นฐานนั้นเเละต้องเเจ้งกรมเจ้าหน้าที่เเต่ต้องติดต่อไม่น้อยกว่า 12 เดือนเต็มเเต่น้อยกว่า 24 เดือน
....................................................................................................................................................................
23.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  การออกหนังสือรับรองความรู้ สถานศึกษาจะออกได้เฉพาะในกรณีที่สถานศึกษาไม่สามารถออกใบสุทธิให้หรือสำเนาต้นขั้วใบสุทธิให้ได้เท่านั้น ซึ่งอาจมีเหตุจากต้นขั้วใบสุทธิสูญหายหรือไม่ปรากฏหลักฐานการออกใบสุทธิ หรือไม่ปรากฏหลักฐานอื่นใด เมื่อสถานศึกษาใด พบกรณีดังได้กล่าวมานี้ต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษาและหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547 ข้อ 6 มีขั้นตอนการปฏิบัติให้สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานก่อน กล่าวคือสอบสวนให้ได้ความจริงว่า “บุคคลผู้มาขอหนังสือรับรองความรู้จบการศึกษาในสถานศึกษานั้นจริงหรือไม่
..............................................................................................................................................................................
24.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ผู้ลงนามในระเบียบ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนอะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันปอเนอะและมีหน้าที่ส่งเสริม กำกับ และสนับสนุนสถานศึกษาปอเนอะที่ได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันสถานศึกษาปอเนอะ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลาม
.......................................................................................................................................................................
25.ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง สถาบันศึกษาปอเนอะ ด้วยกระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2548 ผู้ลงนามในระเบียบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ยกเลิกคำนิยามคำว่า “โต๊ะครู” และ “ผู้ช่วยโต๊ะครู” ในข้อ 3 แห่งระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนาะ พ.ศ. 2547
......................................................................................................................................................................
26.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา  พ.ศ.2546
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการ ดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2546 ผู้ลงนามในระเบียบ นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดีกรมสามัญศึกษาการมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ให้คำนึงถึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถและความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับมอบอำนาจเพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
..................................................................................................................................................................
27.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ตอบ  ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง หลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจนในการกำกับดูแล การปฏิบัติราชการตามโครงการและแผนงานของผู้รับผิดชอบการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงาน โครงการที่กำหนดไว้
................................................................................................................................................................
28.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง การบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ผู้ลงนามในระเบียบ นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสถานศึกษาต้องออกใบเสร็จรับเงินตามแบบที่ราชการกำหนดให้แก่ให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งที่มีการรับเงิน เว้นแต่กรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้หลักฐานการรับเงินตามแบบที่ทางราชการกำหนดและต้องควบคุมใบเสร็จและหลักฐานการเก็บเงินไว้เพื่อตรวจสอบได้
......................................................................................................................................................................
29.ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ตอบ   ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่อง ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศใช้เมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้ลงนามในระเบียบ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปกครอง ดูแล บำรุงรักษาและใช้ที่ราชพัสดุให้ถือปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ราชพัสดุที่เกี่ยวข้อง



อนุทิน 10


ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด
ตอบ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม  พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ.2546 
...................................................................................................................

2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ตอบ ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาคือพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
...............................................................................................................

3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร

ตอบ 1. ทำให้กฎหมายแม่บทกำหนดอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการใหญ่ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
2. ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
3. พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้ เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
4. ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เพียงแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมายแม่บท
......................................................................................................
4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี 9  หมวด 53 มาตรา
หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพเเละเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกเเละตอบสนองความต้องการของประชาชน
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติงานของทางราชการ
หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด
    .....................................................................................................
                
5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ   ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น   มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
.....................................................................................................................................................................
6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ตอบ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติเเละสำนักงานงบประมาณ
................................................................................................................................................................
7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
ตอบ พิจารณาภายใน 90 วันนับตั้งเเตาวันที่เเถลงนโยบาย
.............................................................................................................................

8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี

ตอบ แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผน 4 ปี
............................................................................................................................
9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ สำนักงานงบประมาณเเละคณะผู้ประเมินอิสระ
..........................................................................................................................................................
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
ตอบ คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
................................................................................................................................................

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 9

ให้นักศึกษาอ่านพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและตอบคำถามต่อไปนี้

1.มีการบังคับใช้กำหนดไว้กี่วัน
 ตอบ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
................................................................................................................
2.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก ให้นักศึกษาอ่านและสรุปและให้ ความหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว มีดังนี้
ตอบ   เด็ก  บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

เด็กเร่ร่อน เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้ จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ

เด็กกำพร้า เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
 เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก   เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก

 เด็กพิการ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญาหรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้น จะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง

เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมาย

นักเรียน เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งประเภทสามัญศึกษาและอาชีวศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน 

นักศึกษา เด็กซึ่งกำลังรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าอยู่ในสถานศึกษาของรัฐหรือเอกชน

บิดามารดา  บิดามารดาของเด็กไม่ว่าจะสมรสกันหรือไม่ก็ตาม

ผู้ปกครอง บิดามารดา ผู้อนุบาล ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้ปกครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงพ่อเลี้ยงแม่เลี้ยง ผู้ปกครองสวัสดิภาพนายจ้าง ตลอดจนบุคคลอื่นซึ่งรับเด็กไว้ในความอุปการะเลี้ยงดูหรือซึ่งเด็กอาศัยอยู่ด้วย

 ครอบครัวอุปถัมภ์ บุคคลที่รับเด็กไว้อุปการะเลี้ยงดูอย่างบุตร

การเลี้ยงดูโดยมิชอบ การไม่ให้การอุปการะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนหรือพัฒนาเด็กตามมาตรฐานขั้นต่ำ ที่กำหนดในกฎกระทรวง จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก

ทารุณกรรม  การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเกิดอันตรายทั้งร่างกายเเละจิตใจ

สืบเสาะและพินิจ การค้นหาและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคลหรือครอบครัวนั้นามหลักการทางกฎหมาย ทั้งทางเเพทย์หรือทางด้านตำรวจ

สถานรับเลี้ยงเด็ก สถานที่รับเลี้ยงและพัฒนาเด็กที่มีอายุไม่เกินหกปีบริบูรณ์และมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป ซึ่งเด็กไม่เกี่ยวข้องเป็นญาติ

สถานแรกรับ สถานที่รับเด็กไว้อุปการะเป็นการชั่วคราวเพื่อสืบเสาะและพินิจเด็กและครอบครัว

สถานสงเคราะห์ สถานที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ ซึ่งมีจำนวนตั้งแต่หกคนขึ้นไป 
สถานคุ้มครองสวัสดิภาพ  สถานที่ให้การศึกษา อบรม ฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขความประพฤติ บำบัด รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแก่เด็ก
....................................................................................................

3.คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วยใครบ้าง กี่คน
ตอบ คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุเป็นกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์แต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์ในการงานที่ทำในวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ครู จิตวิทยา กฎหมาย แพทย์ จำนวน 18 คน
..........................................................................................................

4.กรรมผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งกี่ปี และพ้นจากตำแหน่งกรณีใดบ้าง
ตอบ  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งเพราะครบวาระอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสองวาระติดต่อกันเเละพ้นจากตำเเหน่งเมื่อตาย ลาออก  รัฐมนตรีให้ออก ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เป็นบุคคลล้มละลายเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ  ขาดการประชุมติดต่อกันสามครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร
.........................................................................................................

5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูต่อไปจะต้องปฏิบัติตนต่อเด็กอย่างไรตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กฉบับนี้
ตอบ ในฐานะที่จะเป็นครูก็ต้องศึกษา พรบ.คุ้มครองเด็กให้ละเอียดเเละปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพราะครูต้องรู้ว่าการคุ้มครองเด็กเเต่ละคนมีข้อจำกัดอย่างไรบ้างเพื่อลดปัญหาที่ตามมา เเละปฎิบัติกับเด็กทุกคนเท่าเทียมกันไม่เลือกที่จะปฏิบัติคนใดคนหนึ่ง
................................................................................................................

6.ผู้ปกครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กจะต้องไม่กระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็กหรือสถานพยาบาลหรือไว้กับบุคคลที่รับจ้างเลี้ยงเด็กหรือที่สาธารณะหรือสถานที่ใด โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน  ละทิ้งเด็กไว้ ณ สถานที่ใด ๆ โดยไม่จัดให้มีการป้องกันดูแลสวัสดิภาพหรือให้การเลี้ยงดูที่เหมาะสม จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือสุขภาพอนามัยจนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก  ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก  ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ เช่น ทุบตีเด็ก ไม่ให้เด็กเรียนหนังสือ หรือพฤติกรรมอื่นๆที่ส่งผลกระทบทัั้งทางร่างกายเเเละจิตใจของเด็ก เป็นต้น
.........................................................................................................
7.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กไม่ว่าเด็กจะยอมหรือไม่ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำต่อเด็กในประเด็นใดบ้าง
ตอบ  -  กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  - จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งจำเป็นแก่การดำรงชีวิตหรือการรักษาพยาบาลแก่เด็กที่อยู่ในความดูแลของตน จนน่าจะเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
  - บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กประพฤติตนไม่สมควรหรือน่าจะทำให้เด็กมีความประพฤติเสี่ยงต่อการกระทำผิด
  - โฆษณาทางสื่อมวลชนหรือเผยแพร่ด้วยประการใด เพื่อรับเด็กหรือยกเด็กให้แก่บุคคลอื่นที่มิใช่ญาติของเด็ก เว้นแต่เป็นการกระทำของทางราชการหรือได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว
   - บังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ส่งเสริม ยินยอม หรือกระทำด้วยประการใดให้เด็กไปเป็นขอทาน เด็กเร่ร่อน หรือใช้เด็กเป็นเครื่องมือในการขอทานหรือการกระทำผิด หรือกระทำด้วยประการใดอันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก
   -  ใช้ จ้าง หรือวานเด็กให้ทำงานหรือกระทำการอันอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต หรือขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็ก
   -  บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กเล่นกีฬาหรือให้กระทำการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการค้าอันมีลักษณะเป็นการขัดขวางต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็กหรือมีลักษณะเป็นการทารุณกรรมต่อเด็ก
   -  ใช้หรือยินยอมให้เด็กเล่นการพนันไม่ว่าชนิดใดหรือเข้าไปในสถานที่เล่นการพนัน สถานค้าประเวณี หรือสถานที่ที่ห้ามมิให้เด็กเข้า
  -  บังคับ ขู่เข็ญ ใช้ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้เด็กแสดงหรือกระทำการอันมีลักษณะลามกอนาจาร ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด
  -  จำหน่าย แลกเปลี่ยน หรือให้สุราหรือบุหรี่แก่เด็ก เว้นแต่การปฏิบัติทางการแพทย์
.........................................................................................................
8..เด็กประเภทใดบ้างที่ควรได้รับการสงเคราะห์
ตอบ เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ได้แก่
- เด็กเร่ร่อน หรือเด็กกำพร้า
- เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
- เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิตหรือโรคประสาท
- เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
-  เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรม หรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสียในทางศีลธรรมอันดีหรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
-  เด็กพิการ 
- เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
- เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
.............................................................................................................
9.เด็กประเภทใดที่ควรได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ
ตอบ เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพได้แก่
- เด็กที่ถูกทารุณกรรม
- เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
- เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
..............................................................................................................
10.ในฐานะที่ท่านจะเป็นครูตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองเด็กท่านจะมีวืิธีการส่งเสริมความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษาอย่างไร และกรณีที่นักเรียนและนักศึกษามีความประพฤติไม่เป็นตามพระราชบัญญัตินี้ควรทำอย่างไร
ตอบ เเจ้งหรือตักเตือนทุกครั้งที่เด็กกระทำความผิดไม่ปล่อยหรือลงโทษตาม พรบ.คุ้มครองเด็กระบุไว้เพื่อไม่ให้เด็กกระทำซ้ำในครั้งต่อๆไปหรือกระทำความผิดลดน้อยลงเช่นเดียวกับนักเรียนนักศึกษา
...............................................................................................................................
11.พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืนในพระราชบัญญัตินี้ประเด็นอะไรบ้าง  มีโทษระวางปรับและจำคุกอย่างไรบ้างอธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดไม่ยอมมาให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าผู้ให้ถ้อยคำกลับให้ข้อความจริงในขณะที่การให้ถ้อยคำยังไม่เสร็จสิ้นการดำเนินคดีอาญาต่อบุคคลนั้นให้เป็นอันระงับไป
....................................................................................................................
12.ใครเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
ตอบ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
...................................................................................................................