วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 6



ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)

1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
  
   ตอบ เหตุผลที่ต้องประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 กฎหมายบังคับบิดา มารดาหรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในการดูเเลภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กอายุย่างเข้าเจ็ดปีเข้าเรียนในสถานศึกษษจนอายุย่างเข้า สิบหกปีเว้นเเต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมกับกฎหมายดังกล่าว
..............................................................................................................................................

2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 อย่างไร
    ก.ผู้ปกครอง
        ตอบ ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา หรือบิดาหรือมารดาหรือบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือบุคคลที่เด็กอยู่รับใช้ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจการปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายเเพ่งเเละพาณิชย์

    ข.เด็ก
        ตอบ เด็ก หมายถึง เด็ฏซึ่งอายุย่างเข้าปีทที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นเเเต่เด็กที่สอบเข้าย่างปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ

    ค.การศึกษาภาคบังคับ
         ตอบ การศึกษาภาคบังคับ หมายถึง การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฏหมายว่าด้วยการศึกษาเเห่งชาติ

    ง.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          ตอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง อาค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
.......................................................................................................................................

3..กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
        ตอบ เจ้าหน้าที่รายงานต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่พบเด็กในสถานที่นั้นเพื่อดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนในสถานศึกษานั้นเเละหากผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดนั้นต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งพันบาท
...........................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 5

บทที่ 3
แบบฝึกหัดทบทวน

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542
       ก.การศึกษา 
        ตอบ “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและกระบวนการถ่ายทอดความรู้สังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์

      ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ตอบ  การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
       ค. การศึกษาตลอดชีวิต
             ตอบ  การศึกษาตลอดชีวิต หมายความวา่ การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
       
       ง. มาตรฐานการศึกษา 
           ตอบ มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

        จ. การประกันคุณภาพภายใน
            ตอบ การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้น
สังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

         ช. การประกันคุณภาพภายนอก
              ตอบ การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานกันงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

          ซ. ผู้สอน
               ตอบ  ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

           ฌ. ครู
               ตอบ  ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผเู้รียนดว้ยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน           

         ญ.คณาจารย์ 
                ตอบ  คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งททำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

          ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา 
                 ตอบ ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

          ฒ. ผู้บริหารการศึกษา 
                   ตอบ ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งเเต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

          ณ. บุคลากรทางการศึกษา
                 ตอบ บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
................................................................................................................................................................

2.ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
        ตอบ ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                 ส่วนหลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง
................................................................................................................................................................

3.หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
         ตอบ  หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนคือประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตไม่จำกัดอายุ
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษานั้นให้ผู้เรีนเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนบ้าง
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง
.................................................................................................................................................................

4. การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
     ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
              (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
              (2) มีการกระจายอ านาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น
              (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
              (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒ นาครูคณาจารยแ์ละบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
              (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจดัการศึกษา
              (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวชิาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
................................................................................................................................................................

5.สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบา้ง
       ตอบ สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษามีดังนี้
                1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย(Free Education) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
                2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและ
ผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
                3. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจดัการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เเก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้น ภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
.................................................................................................................................................................

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  ระบบการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษา ตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
              2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
              3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
             4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
 (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
             5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและ
องค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายวา่ ด้วยอาชีวศึกษา
             6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
.................................................................................................................................................................

7.การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
        ตอบ  การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบคือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย
   1.การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดเเละการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ
   2.การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดเเละการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาเเละหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาเเละความต้องการของบุคคลเเต่ละกลุ่ม
   3.การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมเเละโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สื่อ หรือเเหล่งความรู้อื่นๆ
.................................................................................................................................................................

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
    ตอบ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนส่งเสริมให้เอกชนร่วมจัดการศึกษาและให้มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐ  อีกทั้งให้มีความสามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ ทุกประเภท รัฐให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้น ภาษีและสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชน
................................................................................................................................................................

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
      ตอบ แนวการจัดการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งถือว่าหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลักว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่า ผู้เรียนมีความสำ คัญที่สุดและต้องให้เเต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
................................................................................................................................................................

10.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครูผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
      ตอบ เห็นด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพไม่ได้ประกันคุณภาพของคนเเต่เป็นที่น่าเชื่อถือได้เเละคิดว่าทุกคนที่ควรมี้องมี
.................................................................................................................................................................

11.มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรบ้าง
    ตอบ วิธีการระดมทรัพยากรเพื่อนำมาใช้พัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นคือทรัพยากรที่มีอยู่ที่สามารถนำใช้ประโยชน์ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเเละพยายามหาสิ่งี่สามารถทดเเทนได้เพื่อลดหย่อนระยะเวลาของการใช้ทรัพยากรนั้นๆ
...................................................................................................................................................................

12.การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
       ตอบ ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใน
โอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
...................................................................................................................................................................

อนุทิน 4

บทที่ 2 
 แบบฝึกหัดทบทวน
เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกและมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่
เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
           ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า “บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า” ส่วนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่ง กฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2475, 536)


2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย

          ตอบ หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 57 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (ราชกิจจานุเบกษา, 2534, 15)
                   มาตรา 66 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการของประเทศและพึงส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนและโดยทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดา เนินกิจการได้โดยอิสระภายในขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนด รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้และด้อยโอกาสให้ได้รับทุนและปัจจัยในการจัดอบรมเเละการฝึกออาชีพ

3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไรอธิบาย
         ตอบ เหมืนกัน มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกวา่ 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่า งทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษา โดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น การจัดการศึกษาองค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ

4.ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  อธิบาย
       ตอบ ประเด็นที่ 1 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หมวด 3 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 23 กล่าวว่า บุคคลย่อมมี
เสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งตัวบทกฎหมาย (ราชกิจจานุเบกษา, 2490, 8)
ประเด็นที่ 2 มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ ต่อหนา้ที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคล ในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ

5.ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
       ตอบ ประเด็นที่ 3 หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย มาตรา 57 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (ราชกิจจานุเบกษา, 2534, 15)
 หมวด แนวนโยบายแห่งรัฐ 
                มาตรา 66 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสม และความต้องการของประเทศและพึงส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ  สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐการศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะตอ้งจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนและโดยทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการได้โดยอิสระภายในขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนด รัฐพึงช่วยเหลือผูย้ากไร้และดอ้ยโอกาสให้ไดร้ับทุนและปัจจยัต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมและการฝึ กอาชีพ
ประเด็นที่ 4 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
                   มาตรา 42 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัด
ต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
                   มาตรา 43 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับบการคุม้ครองทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ (ราชกิจจานุเบกษา, 2540, 9-10)


6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็น
ธรรมและทั่วถึง อธิบาย
       ตอบ  นับตั้งแต่ได้มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยขึ้นและมีการปรับปรุงแก้ไขในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้มีวิวัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่เสรีภาพ การศึกษาอบรม ให้กับเด็กและ
เยาวชนใหเ้ป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทาง ในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้
คู่คุณธรรมเช่นกันและจัดการศึกษาภาคบังคับใหเ้ข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับ
การศึกษาภาคบังคับ ต่อมาไดเ้พิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่นอ้ยกวา่ 12 ปีรัฐจะต้องจัดอย่าง
ทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติหรือเรียกชื่อวา่ “พระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติขึ้น

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด“บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมาย
บัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
       ตอบ บุคคลเเต่ละคนย่อมมีความเสมอภาคอยู่เเล้วซึ่งทุกคนอยู่ภายใต้การดูเเลของรัฐ หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความไม่เสมอภาคความไม่เท่าเทียมกันและขาดการช่วยเหลือทางการศึกษา

8. การจดัการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหาก เราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนทอ้งถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไรจงอธิบาย
      ตอบ การจัดการศึกษาที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่าวมในการจัดการศึกษานั้น เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษามากเเละสูงสุดเเละประชาชนได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง รัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องคือฉบับที่ 5-10 

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคท้ังหญิงและชาย พฒั นาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
         ตอบ เพราะว่าต้องการให้ทุกคนมีความอยู่ดีกินดีเเละได้รับสิทธิเท่าเที่ยมกัน ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกันเเละกันไม่ว่าบุคคลใดที่มีความไม่พร้อมอย่างไรก็ตามสามารถเข้ารับการศึกษาเปรียบเสมือนเป็นคนปกติ

10.ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
        ตอบ ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ส่งผลให้นักเรียนหรือประชาชนมีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้มากขึ้นเเละเท่าเทียมกันในส่นของการศึกษา มีโครงการต่างๆเช่นเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพเหล่านี้เป็นต้นซึ่งนับว่าผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถเข้ารับการศึกษาได้เท่าเทียมกับบุคคลอื่น
      

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 3

ตอบคำถาม
1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษยเ์ราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
          ตอบ มนุษย์จำเป็นต้องมีกฏหมายรองรับเเละทุกคนต้องทำตามกฏหมายนั้นเพราะว่ากฏหมายเป็นกฏที่ถือปฏิบัติเเละเป็นระเบียบข้อบังคับที่ทุกคนต้องถือปฏิบัติไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ทุกประเทศก็มีกฏหมายบังคับใช้ เพราะหากไม่มีคิดว่าทุกคนก็คงไร้ระเบียบ เพราะจะเห็นว่าในปัจจุบันถึงมีก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ทุกคน เเละควรจะมีกฏหมายที่เข้มเเข็งเเละเเข็งเเรงกว่านี้

2.ท่านคิดว่า สังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
          ตอบ ในสังคมปัจจุบันคิดว่าหากไม่มีกฏหมายก็อยู่ไม่ได้เพราะจะเห็นว่าข่าวต่างๆที่ออกมาในปัจจุบันนับวันเพิ่มความโหดร้ายมากขึ้น เช่นอาชญากรรมต่างๆ ยาเสพติดเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งผิดกฏหมายทั้งสิ้น เเละก็มีกฏหมายบังคับใช้เเต่ก็ยังกระทำต่อเนื่องทุกวัน เเละหากไม่มีกฏหมายใช้เลยคิดว่าต่างคนต่างมีอำนาจก็ถืออำนาจของตนเองเป็นใหญ่เเละก็กระทำตามอำเภอใจเพราะไม่มีอะไรมาเอาผิด ซึ่งควรจะมีกฏหมายบังคับใช้เเละเพิ่มความเเข็งเเรงของกฏหมายให้มากกว่าเดิม

3.ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
           ตอบ ก. ความหมาย  คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดขากรัฏฐาธิปไตย จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐเป็นข้อบังคับใช้กับทุกคนที่อยู่ภายใต้รัฐหรือประเทศนั้นๆจะต้องถือปฏิบัติตามเเละมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
           ข.ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฏหมาย 
1.เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด
2.มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ มิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
3.ใช้บังคับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคม จะสงบสุขได้
4.มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทeและการงดเว้นการกระทำ ตามกฎหมายนั้นๆกำหนด
            ค ที่มาของกฎหมาย 
เเต่ละประเทศมีกฏหมายบังคับใช้เเต่จะเเตกต่างกันซึ่งของประเทศไทยมีไว้ 5 ลักษณะคือบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา เป็นต้น ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา  ความเห็นของนักนิติศาสตร์
            ง.ประเภทของกฏหมาย 
นักวิชาการๆด้เเบ่งประเภทของกฏหมายไว้ซึ่งล้วนเเต่ว่าจะเเบ่งตามลักษณะใด กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  กฎหมายที่มีสภาพบังคับ ทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน

4.ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
            ตอบ คิดว่าเป็นผลดีที่เเต่ละประเทศมีกฏหมายใช้เพราะเเต่ละประเทศก็มีกฏหมายที่คล้ายๆกัน อย่างน้อยถึงไม่สามารถใช้ได้ทั้ง 100 เปอร์เซนต์เเต่ก็สามารถใช้เป็นกฏ ข้อบังคับได้มากกว่าที่ไม่สามารถบังคับได้เพราะฉะนั้นทุกประเทศจึงควรมีเพื่อใช้เป็นบทลงโทษคนที่กระทำความผิด

5.สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไรจงอธิบาย
            ตอบ สภาพบังคับในทางกฏหมายสำหรับคำนี้มีความคิดเห็นว่าเป็นสภาพที่สามารถใช้บังคับได้ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้นเเละเป็นสัญชาติของประเทศนั้นๆต้องอยู่ภายใต้การบังคับของกฏหมายผู้ใดฝ่ายฝืนมีการลงโทษตามความผิดนั้นๆเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเเต่ก็มีบางสิ่งที่ไม่เห็นด้วยคือ ผู้มีอำนาจมักจะอยู่เหนือกฏหมาย จึงควรหากฏหมายรองรับในส่วนนี้

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
           ตอบ  เเตกต่างกันเพราะสภาพบังคับของกฏหมายอาญาจะเป็นบทบัญญัติการลงโทษเช่นปะหารชีวิต จำคุก ขัง ปรับ เป็นต้น สภาพบังคับจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างส่วนสภาพบังคับกฏหมายเเพ่งนั้นได้บัญญัติถึงสภาพต่างๆจะลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามข้อบัญญัติเช่นการกำหนดการชำระหนี้ การชดเชยค่าเสียหายเป็นต้น

7.ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
            ตอบ ระบบกฏหมายจะเเบ่งเป็น 2 ระบบคือระบบซีวิลลอร์หรือระบบลายลักษณ์อักษรซึ่งถือว่าสำคัญคำพิากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฏหมายเเต่เป็นบรรทัดฐานของการตีความเท่านั้น ระบบคอมมอนลอว์เกิดจากการพัฒนาของกฏหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาบรรทัดฐานของสมัยก่อนมาใช้จนกระทั่งเกิดระบบกฏหมายที่มีความสมบูรณ์

8.ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้างยกตวัอย่างอธิบาย
               ตอบ  การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน 1.แบ่งโดยแหล่งกำเนิดอาจแบ่งออกไดเ้ป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก 2.แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลักเป็นกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง 3.แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งไดเ้ป็น กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวธิีสบัญญัติ 4.แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน

9.ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
            ตอบ ศักดิของกฏหมายเป็นการจัดลำดับเเห่งค่าบังคับของกฏหมายหรืออำนาจขององค์กรที่ใช้กฏหมายโดยต้องพิจารณาการออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซ่ึงเป็นตัวแทนของปวงชน เเละการให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลาและทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม ฝ่าย
บริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมาย
ฉบับนั้น ซึ่งการจัดลำดับความสำคัญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ

10.เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม
รูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่า จะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกาย
ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำ ผิดหรือถูก
                   ตอบ  เห็นด้วยที่รัฐบาลจะประกาศไม่ให้มีการประชุมถึงเเม้จะสลบก็ตามอาจจะส่งผลกระทบกับประชาชนอื่นๆเเต่ไม่เห็นด้วยกับการลงมือทำร้ายร่างกายเพราะอย่างน้อยเขาก็ประกาศเเล้วว่าจะมีการประชุม อาจจะเป็นการประชุมอย่างสงบก็ตามเเต่ก็ควรจะเจรจาด้วยคำพูดก่อนน่าจะดีกว่า


11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำ ว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
            ตอบ กฎหมายการศึกษา เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมาย
การศึกษาขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือจะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือ
ข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบัน หรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับ ใช้และ
ถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศกัราช 2542


12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
            ตอบ ส่งผลกระทำเพราะเราเองไม่สามารถรู้ได้ว่าสามารถลงโทษหรือทำอะไรได้บ้างกับบนักเรียนเม่อกระทำเเล้วมีผลกระทำกับตัวเราเเละนักเรียนมากน้อยเพียงใดเพราะฉะนั้นจึงควรจะศึกษาได้