วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 10


ให้นักศึกษาศึกษาพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546

1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมือใด
ตอบ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม  พ.ศ.2546 มีผลบังคับใช้เมื่อ 10 ตุลาคม พ.ศ.2546 
...................................................................................................................

2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ตอบ ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาคือพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
...............................................................................................................

3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร

ตอบ 1. ทำให้กฎหมายแม่บทกำหนดอ่านง่าย เข้าใจง่าย เพราะมีแต่หลักการใหญ่ๆ อันเป็นสาระสำคัญ
2. ประหยัดเวลาของผู้บัญญัติกฎหมายแม่บท ที่จะไม่ต้องเสียเวลาพิจารณารายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งสมควรมอบหมายความไว้วางใจให้ฝ่ายบริหารไปกำหนดได้เอง
3. พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวงแก้ไขให้ทันกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ง่ายกว่ากฎหมายแม่บท ทั้งนี้ เพราะกฎหมายแม่บทจะต้องผ่านความเห็นชอบของบุคคลหลายฝ่าย
4. ทำให้กฎหมายเหมาะสมกับกาลเวลาอยู่เสมอ เพราะถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ก็เพียงแต่แก้ไขพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเท่านั้น ไม่ต้องแก้ไขตัวกฎหมายแม่บท
......................................................................................................
4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มี 9  หมวด 53 มาตรา
หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพเเละเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
หมวด 7 การอำนวยความสะดวกเเละตอบสนองความต้องการของประชาชน
หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติงานของทางราชการ
หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด
    .....................................................................................................
                
5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน  เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ  มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ   ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น   มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์  ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
 มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
.....................................................................................................................................................................
6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
ตอบ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติเเละสำนักงานงบประมาณ
................................................................................................................................................................
7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
ตอบ พิจารณาภายใน 90 วันนับตั้งเเตาวันที่เเถลงนโยบาย
.............................................................................................................................

8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี

ตอบ แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผน 4 ปี
............................................................................................................................
9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ตอบ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ สำนักงานงบประมาณเเละคณะผู้ประเมินอิสระ
..........................................................................................................................................................
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
ตอบ คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น