วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน 5

บทที่ 3
แบบฝึกหัดทบทวน

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542
       ก.การศึกษา 
        ตอบ “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและกระบวนการถ่ายทอดความรู้สังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์

      ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
            ตอบ  การศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
       ค. การศึกษาตลอดชีวิต
             ตอบ  การศึกษาตลอดชีวิต หมายความวา่ การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
       
       ง. มาตรฐานการศึกษา 
           ตอบ มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา

        จ. การประกันคุณภาพภายใน
            ตอบ การประกันคุณภาพภายใน หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้น
สังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น

         ช. การประกันคุณภาพภายนอก
              ตอบ การประกันคุณภาพภายนอก หมายความว่า การประเมินผลและการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานกันงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา

          ซ. ผู้สอน
               ตอบ  ผู้สอน หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

           ฌ. ครู
               ตอบ  ครู หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผเู้รียนดว้ยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน           

         ญ.คณาจารย์ 
                ตอบ  คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งททำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน

          ฐ. ผู้บริหารสถานศึกษา 
                 ตอบ ผู้บริหารสถานศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน

          ฒ. ผู้บริหารการศึกษา 
                   ตอบ ผู้บริหารการศึกษา หมายความว่า บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษา
นอกสถานศึกษาตั้งเเต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป

          ณ. บุคลากรทางการศึกษา
                 ตอบ บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
................................................................................................................................................................

2.ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้าง ให้อธิบาย
        ตอบ ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษา (มาตรา 6) การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับ ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
                 ส่วนหลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง
................................................................................................................................................................

3.หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
         ตอบ  หลักการจัดการศึกษา มี 3 ประการคือ(มาตรา 8)
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชนคือประชาชนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตไม่จำกัดอายุ
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษานั้นให้ผู้เรีนเป็นผู้ออกแบบการเรียนการสอนบ้าง
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหเ้ป็นไปอย่างต่อเนื่อง
.................................................................................................................................................................

4. การจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
     ตอบ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ (มาตรา 9)
              (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
              (2) มีการกระจายอ านาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองคก์รปกครองส่วนท้องถิ่น
              (3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
              (4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการพัฒ นาครูคณาจารยแ์ละบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
              (5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจดัการศึกษา
              (6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวชิาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
................................................................................................................................................................

5.สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบา้ง
       ตอบ สิทธิเเละหน้าที่ทางการศึกษามีดังนี้
                1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีอย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย(Free Education) (สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
                2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและ
ผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
                3. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการสถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจดัการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เเก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้น ภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
.................................................................................................................................................................

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ  ระบบการจัดการศึกษา มี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษา ตามอัธยาศัย สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้
              2. การจัดการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับคือการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเรียกชื่อเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย หรืออย่างอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง การศึกษาระดับอุดมศึกษา มี 2 ระดับคือ ระดับปริญญาและต่ำกว่าปริญญา
              3. การศึกษาภาคบังคับ มีกำหนด9 ปี เด็กอายุ 6 ขวบต้องเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงอายุ 15 ขวบ เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับ หลักเกณฑ์การนับอายุให้ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
             4. การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา 3 ประเภทคือ
 (1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย (2) โรงเรียน (3) ศูนย์การเรียน
             5. การอาชีวศึกษาให้จัดในสถานศึกษาของรัฐและเอกชนรวมทั้งสถานประกอบการและ
องค์กรหรือหน่วยงานอื่น ตามกฎหมายวา่ ด้วยอาชีวศึกษา
             6. กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ อาจจัดการศึกษาเฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
.................................................................................................................................................................

7.การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
        ตอบ  การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบคือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบเเละการศึกษาตามอัธยาศัย
   1.การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดเเละการประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จ
   2.การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดเเละการประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาเเละหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาเเละความต้องการของบุคคลเเต่ละกลุ่ม
   3.การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมเเละโอกาสโดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สื่อ หรือเเหล่งความรู้อื่นๆ
.................................................................................................................................................................

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
    ตอบ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนส่งเสริมให้เอกชนร่วมจัดการศึกษาและให้มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลจากรัฐ  อีกทั้งให้มีความสามารถจัดการศึกษาได้ทุกระดับ ทุกประเภท รัฐให้การสนับสนุนด้านเงินอุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้น ภาษีและสิทธิประโยชน์อย่างอื่น ตามความเหมาะสม พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้านวิชาการให้สถานศึกษาเอกชน
................................................................................................................................................................

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
      ตอบ แนวการจัดการศึกษาเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งถือว่าหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยยึดหลักว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ให้ถือว่า ผู้เรียนมีความสำ คัญที่สุดและต้องให้เเต่ละคนสามารถพัฒนาตามความถนัดความสนใจและเต็มศักยภาพของเขา
................................................................................................................................................................

10.ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครูผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
      ตอบ เห็นด้วย เพราะใบประกอบวิชาชีพไม่ได้ประกันคุณภาพของคนเเต่เป็นที่น่าเชื่อถือได้เเละคิดว่าทุกคนที่ควรมี้องมี
.................................................................................................................................................................

11.มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างไรบ้าง
    ตอบ วิธีการระดมทรัพยากรเพื่อนำมาใช้พัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นคือทรัพยากรที่มีอยู่ที่สามารถนำใช้ประโยชน์ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเเละพยายามหาสิ่งี่สามารถทดเเทนได้เพื่อลดหย่อนระยะเวลาของการใช้ทรัพยากรนั้นๆ
...................................................................................................................................................................

12.การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
       ตอบ ให้ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาใน
โอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้และทักษะเพียงพอ ที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
...................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น